วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ D ( หลวงวิจารณ์เจียรนัย "เฮง" )


รายละเอียดพระสมเด็จ
    พระสมเด็จวัดระฆังฯ  พิมพ์ใหญ่องค์นี้  เป็นพระที่สวยงามมากทั้งพิมพ์และเนื้อหามวลสาร การดูด้วยตาเปลาจะดูสวยเรียบชวนน่าสงสัยแต่ก็สวยเรียบแบบไม่น่าจะมีอะไรมากกว่านี้ถ้าดูด้วยตาเปล่า ส่วนหลังปาดบางๆ เรียบๆ ยิ่งมองไม่เห็นอะไรเลย นอกจากสีน้ำตาลออกเขียว แต่ถ้าดูด้วยโปรแกรมขยายภาพจากเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว  เนื้อพระจะดูสวยงามมากๆ จะเห็นก้อนขาวใสแวววาวของพระบรมสารีริกธาตุหยดน้ำค้างวรรณะขาวใสขุ่น พระบรมสารีริกธาตุหยดน้ำค้างวรรณะม่วงเห็นตรงข้างพระพักตร์ด้านบนและตรงซุ้มด้านบนหลายสิบเม็ด และยังมีเม็ดสีเขียวกลมๆ กระจุกอยู่ในจุดเดียวกันกับเม็ดสีดำด้วยอีกหลายสิบเม็ด สีสันต่างๆ ถ้าทำภาพขยายเบลอจะเหมือนทุ่งดอกไม้หลายหลากสี สลับสีขาวใสขุ่นแวววาววิเศษสุดอย่างไม่น่าเชื่อ  รอยปูดเนื้องอกคล้ายๆ ไข่มุกสีสันแปลกๆ ตามจุดต่างๆ พื้นผิวงอก ยุบย่นคล้ายแพรกำมะหยี่รายละเอียดรูปแบบพิมพ์ทรงและเนื้อหามวลสารที่พระสมเด็จฯ องค์นี้ พอจะบอกกล่าว  แบ่งเป็น    ลักษณะ  ให้เห็นภาพเข้าใจง่ายๆ ดังนี้
ลักษณะรูปแบบพิมพ์ทรง
๑. เส้นกรอบแม่พิมพ์   หรือที่เรียกกันว่าเส้นวาสนา  หรือเส้นเงินล้าน เส้นขนาดเล็กจิ๋วทางซ้ายพระขวามือเราจากขอบเส้นบนลงมาจรดเส้นซุ้มพระทางด้านซ้ายตรงบริเวณกลางๆ แขนซ้ายพระค่อนมาทางข้อศอก และอีกเส้นอยู่ทางขวาพระ  ซ้ายมือเรา จากขอบเส้นบนลงมาจรดเส้นซุ้มพระตรงบริเวณฐานพระชั้นล่างสุด แถมยังมีกรอบด้านบนให้เห็นชัดเจนอีกด้วย
๒.  ซอกรักแร้พระ   ซอกรักแร้พระขวามือเราสูงลึกกว่าซอกรักแร้ข้างขวาพระซ้ายมือเรา  และที่ซอกรักแร้ขวามีขยักหรือรอยเข็มขีด
๓.  หูพระ   พระองค์นี้จะมีรอยหูซ้ายขวาติดลาง ๆ ทั้งสองข้าง
๔.  รอยยุบตัวฐานชั้นล่างสุด   ตรงกลางฐานชั้นล่างสุดจะมีรอยยุบตัวลงไปเป็นร่อง ขอบฐานบนและล่างจะเป็นสันนูนเป็นขอบปื้นสูงกว่าตรงกลาง ฐานชั้นล่างก็จะใหญ่ทึบตัน ดูข้างซ้ายจะใหญ่กว่า มีลักษณะคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมู มีปลายงุ้มจิก ส่วนฐานล่างทางขวาพระจะเป็นสี่เหลี่ยมปลายแหลม มีเส้นแหลมที่มุมฐานล่างเป็นทิวไปชนมุมซุ้มครอบแก้ว  
๕.  ขาฐานสิงห์ยาวข้างสั้นข้าง  คือ ที่ฐานชั้นกลางที่เรียกว่าฐานสิงห์ฐาน ข้างซ้ายพระขวามือเรา จะเห็นชัดและยาวกว่าข้างขวาพระซ้ายมือเรา ฐานสิงห์หมายถึงฐานชั้นกลางจะเชิดขึ้นในด้านขวาดูรับกับฐานแรกที่เชิดขึ้นคล้ายหัวเรือ
๖.  ดูที่ซอกเหนือชั้นพระ   ซอกพื้นเหนือชั้นที่ ๑ และที่ ๓ จะสูงกว่าซอกพื้นเหนือชั้นที่ ๒ และพื้นชั้นที่ ๒ จะเท่ากับพื้นพระภายในซุ้ม
๗.  พื้นพระนอกซุ้มสูงกว่าพื้นพระในซุ้ม  พระสมเด็จฯ องค์นี้  พื้นพระนอกบริเวณซุ้มพระจะสูงกว่าพื้นพระในบริเวณซุ้มพระอย่างเห็นได้ชัด
๘.   ระนาบพื้นจากข้างนอกมาซุ้มจะเอียงราบจากพื้นระนาบนอกซุ้มพระมาขึ้นซุ้มพระจะเป็นระนาบเอียงราบขึ้นมา๙.  ระนาบพื้นจากพื้นพระด้านในซุ้มจะตั้งชันขึ้นซุ้มกับเส้นซุ้มพระ
๑๐.  เส้นชายจีวรจะหนา  จากข้อศอกซ้ายพระขวามือเราจะมีรอยเส้นชายจีวรเป็นเส้นพาดมาหัวเข่าซ้าย
๑๑.  มีรอยหยักปลายเท้าใต้เข่า ขวา ที่ใต้เข่าขวาพระซ้ายมือเราจะมีรอยหยักโผล่ออกมา
๑๒.  ซุ้มพระด้านบนขวาจะใหญ่กว่าด้านบนซ้ายพระ   เส้นขอบซุ้มพระทางด้านขวาพระซ้ายมือเราจะใหญ่กว่าทางซ้ายพระขวามือเรา  เส้นซุ้มจะใหญ่เป็นแบบหวายผ่าซีกคว่ำบิดตัวม้วนเข้าด้านใน
๑๓.  พื้นที่นอกซุ้มไม่เท่ากัน  พื้นที่นอกซุ้มด้านบนขวาพระจะมากกว่าพื้นที่นอกซุ้มด้านบนซ้ายพระขวามือเรา
๑๔.  การวางแขนองค์พระ   แขนด้านซ้ายพระขวามือเราจะทิ้งดิ่งตรงแล้วหักศอกส่วนแขนพระด้านขวาพระซ้ายมือเราจะตีโค้งออกแล้วหักศอกหันมือเข้าหากัน
๑๕.  พระพักตร์  รูปพระพักตร์คล้ายผลมะตูมป้อม และหันพระพักตร์ไปทางซ้าย
๑๖.  หัวเข่าขวาพระจะจม ส่วนหัวเข่าทางซ้ายจะนูนกว่า พระบาทซ้ายนูน
๑๗.  เมื่อนำกระดาษมาทาบจากปลายเกศถึงฐานล่างด้านซ้ายพระ จะสัมผัสกันเป็นเส้นตรงตั้งแต่ปลายเกศมาชนหัวเข่าและยาวมาถึงฐาน ต่างกับด้านขวาพระ หากทาบลงในลักษณะเดียวกันจะไม่เป็นเส้นตรง เนื้อกระดาษจะเกยพื้นที่หัวเข่าด้านซ้าย หากทาบจากปลายเกศมาถึงปลายเข่าก็จะเลยฐานออกไป
๑๘.  เส้นซุ้มครอบระฆัง  ตามปกติพระสมเด็จวัดระฆังจะมีเส้นโค้งของครอบแก้วด้านซ้ายจากหัวไหล่ถึงหูจะเป็นเส้นตรง แต่พระสมเด็จองค์นี้เส้นซุ้มตรงหัวไหล่ถึงหู  จะเป็นเส้นตรงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  (เส้นซุ้มสมเด็จฯองค์เสี่ยหน่ำก็มีลักษณะแบบนี้ซึ่งก็ดูสวยงามมาก )
๑๙.  เส้นเว้าโค้งของขอบด้านในครอบแก้วด้านบนขวาองค์พระ เนื้อปูนจะยุบลงไปตามธรรมชาติของซุ้มครอบด้านใน เป็นการหดตัวตามธรรมชาติ  ถ้าใช้กล้องส่องดูเส้นขอบจะยุบเว้าลงไปเหมือนพรมกำมะหยี่นุ่มๆ 
๒๐.  ขนาดหน้าอกทั้งสองข้างจะไม่เท่ากัน จากรักแร้ขวาพระถึงหัวไหล่ขวาพระจะมีเนื้อหนากว่าด้านหน้าอกซ้ายพระ
๒๑.  ผ้าอาสนะรองนั่ง  พระสมเด็จฯ องค์นี้จะเห็นมีติดทางด้านใต้เข่าขวาขององค์พระ แต่ไม่ติดเส้นพลิ้วคมบาง
๒๒.  หัวไหล่พระข้างขวาจะโค้งมนหนา  หัวไหล่ทางด้านข้างซ้ายจะบางกว่า
เนื้อหามวลสาร
     ธรรมชาติของเนื้อพระสมเด็จฯ วัดระฆังองค์นี้  มองทางกายภาพจากภาพขยายของคอมพิวเตอร์ในเนื้อพระสมเด็จวัดระฆังเท่าที่ได้เห็นในพระสมเด็จฯ องค์นี้ มวลสารที่มองเห็นประกอบด้วยมวลสารดังต่อไปนี้
      1.  เม็ดสีขาวขุ่นใส  มีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก ขนาดเล็กตั้งแต่ปลายเข็มหมุดขนานใหญ่เท่าเมล็ดถั่วเขียวก็พบเห็นมีปรากฏอยู่ทั่วไปในเนื้อพระ  ( สันนิษฐานว่าคือพระบรมสารีริกธาตุวรรณะใส , เปลือกหอย ) ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก
     2.  จุดสีแดงหรือสีแดงอิฐ ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ พบอยู่ทั่วไป ตรงบริเวณรายแยกของหลังพระด้านซ้ายและไล่ลงมาจะพบประปราย  ไม่เยอะเหมือนเม็ดสีขาวขุ่นใส
    3.  จุดสีดำ  มีขนาดเล็ก พบทั่วไป แต่จะเห็นชัดตรงซุ้มคลอบแก้วด้านบนอยู่กระจุกค่อนข้างเยอะ  และลักษณะยาว (ขนาดยาวเห็นชิ้นหนึ่งอยู่สันขอบด้านใต้องค์พระถ้าตั้งองค์พระขึ้น)
     4.  จุดสีสันแปลกๆ เช่น สีแดง สีฟ้า สีเหลือง สีเขียว สีเทา สีน้ำตาล สีชมพู ฯลฯ (สันนิษฐานว่าเป็นเกสรดอกไม้ต่างๆ)  ด้านหน้าจะเห็นชัดตรงที่เป็นส่วนที่นูน เช่น องค์พระ ซุ้ม ฐาน ฯลฯ  ส่วนด้านหลังองค์พระเยอะมาก ซึ่งถ้าขยายภาพให้เบลอๆ เหมือนสวนดอกไม้ที่สีสันสวยงานหลากหลายสีสันสวยงามมาก  ผสานกับสีวาวใสขุ่นยิ่งเหมือนกับแสงดาวอันสวยงาม
     5.  จุดก้อนสีดำประกายม่วง เป็นก้อนกลมๆ วาว  เห็นหลายสิบเม็ดบริเวณพระพักตร์และบริเวณซุ้มด้านบนพระ(สันนิษฐานว่า  คือพระบรมสารีริกธาตุวรรณะม่วง)
     6.  จุดสีเขียวคล้ายสีคราม มีลักษณะกลมใหญ่เล็กแล้วแต่จะพบในองค์พระพบบริเวณเดียวกับจุดก้อนดำประกายม่วง
     7.  จุดสีน้ำตาลอ่อน และ น้ำตาลแก่ สันนิษฐานว่า คือเกสรดอกไม้แห้งนานาชนิด อาจเป็นดอกไม้108
     8.  เม็ดขาวขุ่นหรือพระธาตุ   พบอยู่ทางพระพักตร์ด้านขวาพระเกือบกับติดขอบซุ้มด้านขวาองค์พระ และอีกเม็ดที่รอยตัดด้านข้างขวาขององค์พระตรงรอยตัดขรุขระ
     9.  ผงวิเศษที่พบเป็นก้อน คล้ายกับก้อนดินสอพองก็คือ พบอยู่ทั่วไปทั้งด้านหน้าและด้านหลังองค์พระ
     10.  การยุบตัวของเนื้อพระสมเด็จ เกิดจากปฏิกิริยาการหดตัว แห้งตัว ยุบตัวของ เศษอาหาร จึงทำให้เนื้อพระยุบตัวลง ระยะเวลาและความร้อนของอากาศหลายๆปี  ฤดูกาลธรรมชาติตรงที่เป็นแอ่งดำซูมดูมองเห็นสีชมพูล้อมรอบปากหลุมสวยมาก
     11.  พระองค์นี้ เนื้อจะดูเก่าแต่หนึบไม่แตกร้าวมาก คงเป็นเพราะตัวประสานน้ำมันตั้งอิ้วๆผสมได้พอเหมาะ ที่ตรงด้นข้างที่มีรอยตัดขรุขระจะเห็นน้ำมันตั้งอิ้ว แห้งๆ ออกน้ำตาลแก่
     12.  คราบสีขาวบนองค์พระ พบที่ด้านหน้าองค์พระตรงบริเวณฐาน ในวงแขน  และตามซุ้มด้านในพระ ด้านนอกพระและตามส่วนต่างๆ ที่ด้านหน้าองค์พระ
     14.  รอยปริแยกแตกบนผิวพระสมเด็จวัดระฆัง พบแต่ไม่เยอะ ที่เห็นชัดเพียงสองจุดที่ด้านหน้าตรงฐาน และมุมซุ้มขวา และรอยร้าวส่วนตรงขอบน่าจะเกิดจากการตัดขอบมากกว่า ไม่ใช่รอยร้าว
  
สรุป
 พระสมเด็จองค์นี้ไม่ใช่แค่พระเครื่อง  แต่เป็นศิลปะที่สวยงามอย่างลงตัวที่สุด เป็นศิลปะที่ไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าแล้วเห็นความสวยงามอย่างวิจิตรได้  เป็นสิ่งที่เหนือจินตนาการอย่างใหญ่หลวงของผู้ได้ครอบครอง และถ้าหากมวลสารที่พบเหล่านั้นซึ่งได้แก่ ก้อนกลมออกสีดำประกายม่วง  ก้อนกลมสีเขียวประกายสดใส  ก้อนกลมสีขาวใสขุ่น  เป็นพระบรม-สารีริกธาตุวรรณะต่างๆ  และก้อนกลมสีขาวขุ่น  เป็นพระอรหันธาตุ  พระสมเด็จฯ องค์นี้ก็จะเป็นสิ่งที่วิเศษสุดจนประเมินค่าไม่ได้เลย เงินสิบล้านยี่สิบล้านไหนเลยจะมีค่าเพียงแค่ความรู้สึกอันน้อยนิดของความภาคภูมิใจที่ได้ครอบครองของวิเศษนี้ไว้ติดตัวตราบจนชั่วลูกชั่วหลาน  ติดแต่ปัจจุบันผู้ครอบครองยากจนค้นแค้นหนี้สินรุงรัง ลำบากใจเหลือเกินในการจะตัดสินใจปล่อยให้คนอื่นเช่าบูชาพระเครื่องที่วิเศษสุดนี้ไป เพราะถ้าแลกกับเงินหลายล้านฐานะครอบครัวความเป็นอยู่คงสุขสบายขึ้น แต่อีกใจกว่าจะมีวาสนาได้พบพานเกิดอีกชาติไม่รู้จะมีโอกาสได้เห็นอีกหรือไม่ คงแล้วแต่ชะตาชีวิต....  หรือผู้มีวาสนาคนต่อไป....




2 ความคิดเห็น:

  1. ขอให้ท่านลองเข้าไปศึกษาเกี่ยวกับแม่พิมพ์ของท่านหลวงวิจารณ์เจียรนัยในวีดีโอเปิดกรุสมบัติหลวงวิจารณ์ฯที่เผยแพร่ประมาณปี 2558 ดูหลายๆตอนโดยเฉพาะตอนที่ 24 จะเห็นว่าแม่พิมพ์ของท่านหลากหลายกว่า 1,000 แม่พิมพ์ ซึ่งก็ควรน่าที่จะกำหนดให้เป็นพิมพ์นิยมเช่นเดียวกันทั้งหมด และถ้าได้สังเกตให้ดีแล้วก็จะพบว่าแม่พิมพ์ของท่านมีทั้งแม่พิมพ์ที่กดพระออกมาแล้วโดยเฉพาะพิมพ์ใหญ่มีทั้งสองแบบคือแบบที่ไม่มีเส้นวาสนาก็มีและแบบทีมีเส้นวาสนาก็มี ให้ท่านๆลองใช้วิจารณญาณดูเอาเองถึงหลักฐานข้อเท็จจริงที่ปรากฎออกมาแล้วเองว่าจะเชื่อถือตามคำบอกเล่า บทความ หนังสือหรือตำหรับตำราต่างๆที่อ้างและเขียนตกทอดกันขึ้นมาอย่างถูกๆผิดๆนั้นต่อไป และไม่ใช่เรื่องนี้เรื่องเดียวที่ปรากฏแต่ยังมีเรื่องอื่นๆอีกที่น่าศึกษาเช่นสมเด็จวังหน้า วังหลัง สมเด็จวัดพระแก้วฯก็ยังมีปรากฏในแม่พิมพ์ของท่านเช่นกัน จะถูกผิดอย่างไรก็ขออภัยไว้ที่นี้ เป็นเพียงข้อสังเกตและความคิดเห็นผมเอง..ขอบคุณ อนึ่ง อาจมีบางท่านอยากโต้แย้งตำนานเรื่องหลวงวิจารณ์ว่า เป็น เรื่องแต่ง เรื่องเล่า โกหกกันไม่มีตัวตนจริงนั้น สำหรับการพิสูจน์หาความจริงในเรื่องนี้น่าจะกำลังมีผู้สืบเสาะค้นหาหลักฐานความจริงเพื่อนำออกเผยแพร่สู่สาธารณะชนให้รับทราบในโอกาสอันใกล้นี้อย่างแน่นอนและไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาถูกต้องน่าเชื่อถือเช่นไรก็ตามก็ควรที่จะต้องขึ้นอยู่กับเหตุผลข้อมูลหลักฐานบนความถูกต้องที่เป็นจริงรวมถึงเสียงตอบรับของสังคมโดยรวมต่อไป..ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผมมีอยู่1องค์ครับ ไม่ทราบว่าใช่หรือป่าว
      ขอคำชี้แนะ ครับผม

      ลบ